อำเภอยะหา

ยะหา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดยะลา อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย อนึ่งคำว่า ยะหา (มาเลย์: Johar, Juar) อันป็นชื่อของอำเภอ เป็นคำในภาษามลายูที่มีความหมายว่า “ต้นขี้เหล็ก

แผนที่จังหวัดยะลา เน้นอำเภอยะหา
 

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอยะหามีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

พื้นที่ของอำเภอยะหาแยกมาจากอำเภอเมืองยะลาในปี พ.ศ. 2481 สมัยหลวงรัชกาลประดิษฐ์ (แปะ) เป็นเจ้าเมืองยะลาและหมื่นเสนานุรักษ์ (ประดิษฐ์ ศุภอักษร)

ปลัดเมืองยะลาในขณะนั้นได้สำรวจพื้นที่และคัดเลือกตำบลยะหาเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอยะหา เบื้องต้นแบ่งออกเป็น 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลยะหา ตำบลตาชี ตำบลบาโงยซิแน ตำบลสะเอะ ตำบลบาโร๊ะ ตำบลปะแต ตำบลซีเยาะ ตำบลบาโงย ตำบลชะเมาะ และตำบลลาบู

พ.ศ. 2443 หลวงภักดีรณฤทธิ์ นายอำเภอยะหาในขณะนั้น ได้ปรับปรุงเขตการปกครองใหม่ โดยยุบบางตำบลรวมกับอีกตำบลเข้าด้วยกัน ยุบตำบลบาโงยรวมกับตำบลบาโร๊ะ ยุบตำบลซีเยาะรวมกับตำบลบาโงยซิแน และยุบตำบลชะเมาะรวมกับตำบลละแอ

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

การปกครองของอำเภอยะหามี 7 ตำบล 49 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ยะหา (Yaha) 9 หมู่บ้าน
2. ละแอ (La-ae) 6 หมู่บ้าน
3. ปะแต (Patae) 9 หมู่บ้าน
4. บาโร๊ะ (Baro) 8 หมู่บ้าน
6. ตาชี (Ta Chi) 5 หมู่บ้าน
7. บาโงยซิแน (Ba-ngoi Sinae) 6 หมู่บ้าน
8. กาตอง (Ka Tong) 6 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอยะหาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลยะหา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลยะหา
  • เทศบาลตำบลปะแต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปะแตทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยะหา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยะหา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลยะหา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลละแอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลละแอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบาโร๊ะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบาโร๊ะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาชี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาชีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบาโงยซิแนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกาตอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกาตองทั้งตำบล

ประชากร

ส่วนใหญ่ประชากรของอำเภอยะหาส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู นับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมากถึงร้อยละ 93 ซึ่งมีความเคร่งครัดต่อศาสนา และนิยมส่งบุตรหลานเรียนหลักธรรมของศาสนา นอกจากนี้ยังมีชาวไทยพุทธ เป็นส่วนน้อยโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตสุขาภิบาล และตำบลตาชี รวมกันมีร้อยละ 3 นอกจากนี้ยังมีชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยถิ่นอีสานอาศัยอยู่ในเขตสุขาภิบาลด้วย

  • ด้านภาษา ส่วนใหญ่ประชาชนนิยมพูดภาษามลายูถิ่น แต่เมื่อชาวไทยมุสลิมต้องการพูดคุยกับชาวไทยพุทธก็จะพูดภาษาไทย หรือภาษาไทยถิ่นใต้ นอกจากนี้ชาวไทยพุทธบางคนก็สามารถใช้ภาษามลายูโต้ตอบได้ แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้ภาษาไทยถิ่นใต้
  • ด้านอาชีพ ส่วนใหญ่ประชาชนในอำเภอยะหาจะทำเกษตรกรรมเป็นส่วนมาก เช่น ปลูกต้นยางพารา และยังมีอาชีพรับจ้าง เช่น คนสวนกรีดยางและค้าขาย

คนจากอำเภอยะหาที่มีชื่อเสียง

สถานที่สำคัญ

ใส่ความเห็น